การบริหารสถานศึกษาด้วยรูปแบบ  Heart  Model

เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพการปฏิบัติงานสูงขึ้น และมีมาตรฐานการทำงานเทียบเคียงกับมาตรฐานสากล ปฏิบัติงานโดยมุ่งเน้นการนำองค์กรเป็นไปอย่างมีวิสัยทัศน์ มีความรับผิดชอบต่อสังคม ให้ความสำคัญกับ ผู้เรียนและและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ปรับปรุงระบบบริหารจัดการให้มีความยืดหยุ่นคล่องตัว ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรของโรงเรียนพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และทำงานโดยมุ่งเน้นผลลัพธ์ขององค์กร เพื่อยกระดับคุณภาพขององค์กร และยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยสร้างรูปแบบการบริหารงานที่เป็นอัตลักษณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สู่การบริหารจัดการสถานศึกษาให้ประสิทธิภาพ ด้วยรูปแบบ  HEART  MODEL 

HEART  MODEL
( หัวใจแห่งความสำเร็จ )

รูปแบบการบริหารสถานศึกษาด้วย HEART MODEL เป็นรูปแบบที่ได้สังเคราะห์มาจากหลักการ และทฤษฎีการบริหาร โดยนำมาเชื่อมโยงให้มีความสอดคล้องเป็นวงจรเชิงระบบ โดยใช้หลักการทางการบริหารต่าง ๆ เช่น หลักธรรมาภิบาล หลักการสร้างทีมงาน วงจรคุณภาพเดมมมิ่ง (PDCA) หลักการ การวางแผน การนิเทศแบบกัลยาณมิตร เป็นต้น ซึ่งรายละเอียดของขั้นตอนในการใช้รูปบริหาร สถานศึกษาด้วย HEART MODEL มีดังนี้ 

1. ขั้นวิเคราะห์ปัญหาความต้องการโดยใช้เทคนิค Swot Analysis
    2. ขั้นวางแผน plan เป็นการออกแบบนวัตกรรมการบริหารสถานศึกษา โดยใช้ชื่อว่า HEART MODEL ดังต่อไปนี้

  H :  Head  คือ ทักษะของผู้นำที่ต้องมีความรอบรู้  รู้ลึก รู้กว้าง  รู้เท่าทันข่าวสารเหตุการณ์ กล้าคิด กล้าเปลี่ยนแปลง โดยมีฐานข้อมูลที่ในในการคิดพิจารณาตัดสินใจเลือกแนวทางที่ถูกต้อง
  E  :  Etsics   คือ จริยธรรมของผู้บริหารในการประพฤติปฏิบัติตนให้ดีงามเป็นที่สังคมยอมรับ มีวินัยในการจัดการกับสิ่งที่ดีและไม่ดีกับการทำงาน และภาระผูกพัน ต่าง ๆ เพื่อลดความขัดแย้งและความได้เปรียบเสียเปรียบ

          A  :  Art   คือ การทำงานอย่างมีศิลปะ ความสามารถในการสื่อสาร การคลองใจคน บริหารแบบกัลยาณมิตร ใช้คน ได้ใจ ได้งาน

          R  :  Relation   คือ สร้างทีมงานเป็นหนึ่ง สร้างความสมัครสมานสามัคคีในองค์กรให้เอื้อเฟื้อต่อกัน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมวางแผนการทำงาน จนบรรลุจุดประสงค์เกิดความสำเร็จที่เป็นสิ่งที่ภาคภูมิใจร่วมกันและเข้าถึงชุมชน สร้างเครือข่ายและประสานการทำงานให้ชุมชน องค์กร ต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน เข้ามามีส่วนร่วม ในการจัดการศึกษา

          T  :  Technology   คือ  ก้าวทันเทคโนโลยี มีเทคนิคการนำประโยชน์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรม มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการศึกษาและกระบวนการทำงานในองค์กร ให้เกิดประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล

        3. ขั้นลงมือทำ do โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้

    4. ขั้นตรวจสอบ check เป็นการตรวจสอบความคืบหน้าและความถูกต้องของการทำงาน

        5. การปรับปรุงแก้ไข action เป็นการปรับปรุงแก้ไขผลของการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพต่อไป